เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอนินทรีย์ (inorganic elements) ในสารตัวอย่างต่างๆที่ผ่านการเตรียมเป็นสารละลายแล้ว สามารถวิเคราะห์หาธาตุปริมาณน้อยๆ ได้ในระดับ ส่วนในล้านส่วน ( ppm ) โดยตัวอย่างจะถูกทำให้ร้อนขึ้นเพื่อเปลี่ยนสภาพให้เป็นอะตอมอิสระ (free atom) ซึ่งสามารถดูดกลืน (absorb) แสงที่ความยาวคลื่นระดับหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งขึ้นอยู่กับธาตุแต่ละธาตุ เนื่องจากธาตุแต่ละชนิดมีระดับของพลังงานแตกต่างกันจึงมีการดูดกลืนพลังงาน ได้แตกต่างกัน พลังงานที่พอดีกับคุณสมบัติเฉพาะของธาตุจะทำให้อิเล็กตรอนของธาตุนั้นๆ เปลี่ยนสถานะจากสถานะพื้น (ground state) ไปเป็นสถานะกระตุ้น (exited state) การดูดกลืนแสงจะแปรผันตรงกับความเข้มข้นของธาตุที่มีอยู่ในตัวอย่าง AAS สามารถนำไปใช้ตรวจหาปริมาณ ทองแดง สังกะสี ตะกั่ว เหล็ก และแคดเมียม ในการตรวจคุณภาพน้ำนมดิบและในเครื่องดื่มทั่วไป และตรวจหาปริมาณโซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม และแมงกานีสในอาหารเลี้ยงทารก เทคนิคนี้ยังนำไปใช้ตรวจหาโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว และปรอทในเนื้อสัตว์ สัตว์น้ำ เมล็ดธัญพืช น้ำมันพืช เครื่องดื่มทั่วไป และเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ (alcoholic beverage)
องค์ประกอบที่สำคัญของเครื่องอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรมิเตอร์ Atomic Absorption Spectrometer (AAS) จะมีด้วยกัน 5 ส่วน ดังนี้
1. แหล่งกำเนิดแสง (light source) แหล่งกำเนิดแสงของ AAS โดยทั่วไปเป็นหลอดแบบ hollow cathode lamp (HCL) ซึ่งในหลอด (lamp) จะบรรจุ buffer ของแก๊สเฉื่อย (inert gas) เช่น แก๊สอาร์กอน (Ar) หรือ นีออน(Ne) และมีการเคลือบเกลือของธาตุโลหะที่จะวิเคราะห์ไว้ที่ขั้ว cathode ของ lamp โดยจะมีการให้ศักดิ์ไฟฟ้า(apply voltage) ให้แก่ขั้ว cathode เกิดการ ionization ของ inert gas ไปชนกับเกลือของธาตุโลหะที่เคลือบไว้ ทำให้ธาตุโลหะหลุดออกจากขั้ว cathode แล้วไปชนกับ inert gas ทำให้ธาตุโลหะเปลี่ยนสถานะจากสถานะพื้น(ground state) ไปเป็นสถานะกระตุ้น (exited state) แต่ไม่เสถียร จึงปล่อยพลังงานออกมาเป็นพลังงานแสงที่ความยาวคลื่นจำเพาะกับธาตุแต่ละธาตุซึ่ง hollow cathode lamp มีทั้งแบบ single lamp (ปล่อยพลังงานช่วงความยาวคลื่นสำหรับวิเคราะห์ธาตุใดธาตุหนึ่ง) และ แบบ multiple lamp (ที่ขั้ว cathode จะเคลือบเกลือของธาตุโลหะหลายชนิด มีการปล่อยพลังงานในหลายช่วงตามระดับพลังานของธาตุที่เคลือบไว้ จะอาศัย monochromator ในการเลือกแสงที่ระดับความยาวคลื่นที่ต้องการใช้)
2. ส่วนที่ทำให้ธาตุกลายเป็นอะตอมอิสระ (atomizer หรือ atomization process) การทำให้อะตอมของธาตุในสารประกอบเกิดเป็นอะตอมอิสระได้นั้น ต้องมีการดูดกลืนพลังงานความร้อนเข้าไปซึ่งพลังงานดังกล่าวอาจอยู่ในรูปต่างๆ เช่น พลังงานความร้อนจากเปลวไฟ พลังงานความร้อนจากกระแสไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งส่วนประกอบของเครื่อง AAS ที่ให้พลังงานความร้อนเพื่อทำให้เกิดอะตอมอิสระนั้นเรียกว่า atomizer และกระบวนการที่ทำให้เกิดอะตอมอิสระนั้นเรียกว่า Atomization process ซึ่ง Atomization process ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Flam Atomization, Electrothermal atomization หรือ Graphite furnace หรือ flameless atomization , Hydride Generation Technique และ Cold Vapor Technique
3. Monochromator ใช้แยกแสงให้ได้ความยาวคลื่นของแสงที่ต้องการ (wavelength selector)
4. Detector ของ AAS เป็นชนิด Photo Multiplier Tube (PMT)
5. เครื่องประมวลผลและอ่านผล
สารละลายมาตรฐานสำหรับวิเคราะห์โดยเครื่อง AAS/ICP
สารมาตรฐานอนินทรีย์ (Inorganic Standards) ที่ใช้ในการวิเคราะห์โดยเครื่อง AAS/ICP โดยจะมีทั้ง Single-Element Standards และ ทั้งหมดเป็นวัสดุอ้างอิงที่ได้รับการรับรอง (Certified Reference Materials; CRM) แบรนด์ CPAchem นำเข้าจากประเทศฝรั่งเศส ผลิตและสอบเทียบภายใต้ระบบคุณภาพของ CPAchem นั่นคือ:
– ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001
– ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 – การทดสอบ – ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 17034 – Reference Material Producer
Ref : ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา