การกรองด้วยแรงดึงดูดของโลก เป็นการกรองอย่างธรรมดาที่ใช้กันในห้องทดลองทั่วไป เพราะการกรองโดยวิธีนี้โอกาสที่จะทำให้กระดาษกรองฉีกขาดนั้นมีน้อยกว่าการกรองด้วยแรงสุญญากาศและยังเหมาะสำหรับการกรองตะกอนที่มีลักษณะคล้ายวุ้นมากเพราะตะกอนที่มีลักษณะคล้ายวุ้นและตะกอนที่ละเอียดมาก จะอุดรูและเกาะกันแน่นเมื่อกรองด้วยแรงสุญญากาศ สำหรับอุปกรณ์การกรองด้วยแรงดึงดูดของโลกประกอบด้วย กรวยกรองกระดาษกรอง และที่ยึดกรวยกรอง
ความเร็วของการกรองโดยวิธีนี้ขึ้นอยู่กับการพับกระดาษกรอง และการวางตำแหน่ง ของกระดาษกรองในกรวยกรองตลอดจนชนิดของกรวยกรองที่ใช้ นอกจากนี้ผู้ทดลองจะต้องเลือกกระดาษกรองให้เหมาะสมกับลักษณะขนาดและปริมาณของตะกอนอีกด้วย เมื่อเลือกกระดาษกรองได้แล้วก็นำกระดาษกรองมาพับเป็นรูปกรวย ซึ่งพับได้หลายวิธี เช่น การพับกระดาษกรอง
เมื่อพับกระดาษกรองเรียบร้อยแล้วก็นำใส่ในกรวยกรอง วางให้ขอบตอนบนของพระดาษกรองแนบสนิทกับผิวแก้วของกรวย ซึ่งทำได้โดยทำกระดาษกรองให้เปียกด้วยน้ำก่อน แล้วใช้นิ้วมือกดขอบตอนบนกระดาษกรองให้แนบสนิทกับกรวยกรอง
สำหรับกรวยกรองนั้นถ้ามีก้านยาวและปลายตีบเล็กน้อย ก็จะทำให้เกิดแรงดึงดูดมากขึ้นและการกรองก็จะเร็วขึ้นด้วย ในบางครั้งก้านกรวยกรองอาจจะมีของเหลวอยู่เต็ม โดยเฉพาะก้านกรวยที่มีขนาดใหญ่จะทำให้การกรองเกิดช้าลง วิธีแก้ก็คือใช้นิ้วมืออุดปลายก้านกรวยไว้ก่อน รอจนกว่ากรวยจะมีของเหลวอยู่เต็มแล้วเผยอ
(ก) เริ่มตั้งแต่พับกระดาษกรองเป็นครึ่งวงกรม แล้วพับให้เหลือเพียง ¼ ของวงกลม
(ข) พับกระดาษกรองเป็นครึ่งวงกลม แล้วพับให้เหลือเพียง ¼ ของวงกลม แต่ให้ริมทั้งสองข้างเหลื่อมกันเล็กน้อยฉีกมุมด้านที่เหลือมเข้าออกเล็กน้อย เพื่อต้องการให้กระดาษกรองแนบสนิทกับกรวยกรองแล้วแยกกระดาษกรองที่พับออกจากกันด้านหนึ่งจะหนา 3 ชั้น ส่วนอีกด้านหนึ่งจะหนาชั้นเดียว
กระดาษกรองด้าน 3 ชั้นออกเล็กน้อยเพื่อไล่อากาศออก และให้กระดาษกรองแนบกันกรวยอีกครั้งหนึ่ง ปล่อยนิ้วมือออกจากก้านกรวยกรอง ของเหลวในก้านกรวยกรองก็จะไหลออกมา การพับกระดาษกรองอาจพับแบบมีร่องก็ได้
โดยทั่วไปแล้วการกรองในขณะที่สารละลายร้อน จะทำให้กรองได้เร็วกว่าสารละลายที่เย็นหรือการล้างสิ่งเจือปนออกจากตะกอนก็เช่นเดียวกัน ถ้าล้างด้วยของเหลวที่ร้อนสิ่งเจือปนก็จะหมดไปจากตะกอนได้เร็วกว่าใช้ของเหลวที่เย็น แต่ในกรณีที่ตะกอนนั้นละลายในของเหลวที่ร้อนก็ต้องใช้ของเหลวที่เย็นล้างแทนเพราะอาจจะทำให้ตะกอนละลายได้
อ้างอิง : http://www.envi.cmru.ac.th/instrument/chapter1_t71.html